วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์กับการศึกษา


        ในปัจจุบันนี้พบว่าได้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ในด้านต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นอย่างมาก ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน ได้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ เช่น ด้านการบริหาร ด้านการวางแผนหลักสูตรด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านห้องสมุด การแนะแนวและบริการ การทดสอบและวัดผลประยุกต์ใช้ในงานวิจัย สื่อการสอน ด้านการจัดการสอน และด้านช่วยสอนเป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะด้านช่วยสอนเท่านั้น
        คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำเข้ามาใช้ช่วยในการเรียนและการสอนอย่างจริงจังในราวปลายศตวรรษที่ 1950 ศาสตราจารย์ ดร. Robert P. Taylor แห่ง Columbia University ณ เมือง New York ได้สรุปบทบาทและหน้าที่การใช้งานคอมพิวเตอร์ไว้ว่าเป็นผู้ติวหรือผู้สอน (Tutor) ผู้สื่อ (Tools) และผู้เรียน (Tutee)
ผู้สอน หรือ Tutor 
        การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในลักษณะเป็นผู้สอนนั้นได้แนวคิดมาจากการสอนแบบโปรแกรมหรือ Programmed Instruction นั่นเอง แต่การใช้คอมพิวเตอร์มีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าการสอนแบบโปรแกรม สามารถใช้ในการโต้ตอบกับผู้เรียน มีการเคลื่อนไหวของกราฟิกซึ่งสามารถทำได้ดีกว่าการสื่อและวิธีการสอนแบบอื่นบทเรียนคอมพิวเตอร์และสร้างโปรแกรมขึ้นมาโดยผู้ชำนาญ
ในการเขียนโปรแกรมและผู้ชำนาญการสอนในสาขาวิชานั้น ๆ คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่และมีบทบาทในการเสนอบทเรียนและเนื้อหา ผู้เรียนจะเรียนจากคอมพิวเตอร์ตามขั้นตอนและเนื้อหาที่ได้ออกแบบไว้ผู้เรียนเป็นผู้ตอบสนอง และคอมพิวเตอร์เป็นผู้ประเมินผลจากการตอบของผู้เรียน ผลของการประเมินจะช่วยเป็นเครื่องตัดสินว่าผู้เรียนจะผ่านไปเรียนเนื้อหาลำดับต่อไปหรือไม่
        ดังนั้นการออกแบบบทเรียน CAI เพื่อใช้เป็นผู้ติวหรือผู้สอนนั้นจะใช้เวลาเป็นอย่างมาก ต้องใช้ความคิดอย่างลึกซึ้ง เพราะมนุษย์มีความยืดหยุ่นมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์บทเรียนจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน
สื่อการสอน หรือ Tools
        การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือและสื่อสำหรับการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียน เช่น ใช้ในคิดคำนวณเลข วิเคราะห์ข้อมูลสถิติและพิมพ์รายงาน หนังสือและเอกสารต่างๆ งานด้านศิลปะและการออกแบบ งานทางกราฟิกและดนตรี เป็นต้น
ผู้เรียน หรือ Turee
        การใช้คอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนผู้ถูกติว หรือผู้เรียนนั้น หมายความไปถึงการที่ผู้เรียน และผู้สอนจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการติว หรือใช้เป็นเครื่องมือและผู้สื่อได้นั้นทั้งผู้เรียนและผู้สอนจะต้องทำการเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะใช้ทำการโปรแกรมและใช้สื่อความหมาย
ภาษาเดียวกันกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ไม่มีความฉลาดเหมือนมนุษย์ ไม่มีความอ่อนไหวใช้ทำงานได้นาน ไม่มีอาการเบื่อ จะให้เริ่มหรือหยุดเมื่อไรก็ได้ ผู้เรียนสามารถสอนคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ต่างๆ นานา เช่นใช้ในการเรียนเลขคณิต ช่วยเรียนและฝึกภาษา ใช้ให้เขียนแผนผังและแผนที่ ให้ฝึกเล่นดนตรี เป็นต้น
        CAI ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อวงการการศึกษาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1960 โดยเฉพาะการสอนคำนวณ แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาและความก้าวหน้าของ CAI เป็นไปอย่างเชื่องช้าในปัจจุบันนี้ไมโครคอมพิวเตอร์หรือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ PC(Personal Computer) คำว่า CAI และ CAL (Computer Assisted Learning) นั้นที่จริงแล้วมีความมุ่งหมายให้งานทางด้าน CAI เริ่มฟื้นชีพขึ้นมาใหม่ ในปัจจุบันโปรแกรมทางด้าน CAI มีคุณภาพและน่าสนใจมากขึ้น คำว่า CAI นั้นนิยมใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา มุ่งหวังที่จะนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ และช่วยในการเรียนและการสอนศาสตร์ต่างๆ โดยให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้จากบทเรียนต่างๆ 



คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
.......คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพสูงในการคำนวณ และประมวลผล สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
.......ระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
1. การป้อนข้อมูล การพิมพ์ การพูด โดยผ่านอุปกรณ์ที่สำคัญ เช่น เมาส์ คีบอร์ด สแกนเนอร์ ซีดี2. การประมวลผล คำนวณและประมวลผลข้อมูล หรือเรียกว่า CPU3. การแสดงผล แสดงผลการทำงานของ CPU อาจเป็นรูปภาพ ตัวอักษร เสียง ทางจอภาพ เครื่องพิมพ์การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษา1. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนโดยตรง เช่น การฉายเนื้อหาประกอบการบรรยาย คอมพิวเตอร์สามารถทำหน้าที่แทนสื่อต่างๆ เช่น แผ่นใส ภาพนิ่ง
2. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มากที่เป็นเอกสารหนังสือ วารสาร โปสเตอร์ ชุดไมโครซอร์ฟออฟฟิต
3. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือการค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้ทั่วไป
4. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนรู้รูปแบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้คอมพิวเตอรืช่วยสอน คือ สื่อการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
..........ลักษณะสื่อประสมคุณค่าของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- คิดอย่างมีเหตุผลคือการเรียนการสอนจะเป็นในแง่ฝึกหัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เอง
- รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
- ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
- ยอมรับและนับถือตนเอง
- รู้จักรับผิดชอบตนเอง
- มีพฤติกรรมซื่อสัตย์ต่อตน
..........คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. สารสนเทศ คือ เนื้อหาสาระที่ได้รับการวิเคราะห์ เรียบเรียงเป็นระบบอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ผู้สร้างหรือออกแบบบทเรียนกำหนดไว้
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนแต่ละคนมีความถนัดในการเรียนรู้ต่างกัน การศึกษาบทเรียนรายบุคคลทำใก้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความสะดวก
3. การโต้ตอบ ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนออกแบบให้มีการตอบโต้ในบทเรียนจะมีผลดี ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจในการตอบโต้ในทันที
.........ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. บทเรียน เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาในลักษณะของบทเรียน โปรแกรมที่เสนอเนื้อหาเป็นส่วนย่อยๆ เป็นการเรียนแบบการสอนของครู
2. ฝึกทักษะและปฏิบัติ
3. จำลองแบบ
4. เกมทางการศึกษา
5. การสาธิต
6. การทดลอง
7. การไต่ถาม
8. การแก้ปัญหา
9. แบบรวมวิธีต่างๆเข้าด้วยกันข้อดีและข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนข้อดี ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัดของตนข้อจำกัด อาศัยอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นสำคัญ ทำให้ไม่สะดวก มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณอินเตอร์เน็ตคือ เครือข่ายข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงติดต่อกันทั่วโลก ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติการ
1. มาตรฐานการสื่อสาร LAN,MAN,WAN ใช้ชื่อว่า TCP/IPTCP ทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องในการรับส่งข้อมูลIP กำหนดที่อยู่หรือแอดเดรสของคอมพิวเตอร์
2. การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
- การเชื่อมต่อโดยตรง จะต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายเชื่อมต่อกับโครงข่ายหลักหรือแบ็กโบน โดยต้องมีเราเตอร์ในการเชื่อมต่อ เพื่อขอชื่อโดเมนแล้วติดตั้งเกตเวย์เป็นแบ็กโบน
- การเชื่อมต่อผ่านผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต ใช้สายโทรศัพท์ต่อเข้ากับโมเด็ม
3. ประเภทของอินเตอร์เน็ต
- อินทราเน็ต สื่อสารเฉพาะในองค์การเท่านั้น
- เอ็กทราเน็ต เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ภายนอกระหว่างองค์การกับองค์กับองค์การหรือบุคคล
4. อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
- การค้นคว้า
- การเรียนและติดต่อสื่อสาร
- การศึกษาทางไกล
- การเรียนการสอนอินเตอร์เน็ต
- การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต
5. การค้นคว้าความรู้ทางอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตเนื่องมาจากอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่มีข้อมูลทุกประเภทเก็บอยู่อย่างมากมาย มีการสร้างเว็บไซต์ไว้บนอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่มีเครื่องอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูลที่เราต้องการได้การเรียนรู้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมการเรียนรู้ขจากสื่อทุกชนิด ที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการบันทึก การจัดระบบ การเผยแพร่เพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
.........ลักษณะสำคัญของ อี-เลิร์นนิ่ง
1. การนำเสนอสาระสนเทศในรูปของสื่อประสม เนื้อหาสาระที่นำเสนอให้ผู้เรียนควรมีลักษณะหลากหลายแบบประกอบกัน
2. การขยายโอกาสเกี่ยวกับผู้เรียน สถานที่เรียน เวลาในการเรียน
3. การยืดหยุ่นในการเรียนรู้ การเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนไม่จำเป็นต้องเรียนตามลำดับขั้น ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหัวข้อใดก่อน/หลัง ได้ตามความสนใจ
4. การโต้ตอบหรือการมีปฆิสัมพันธ์ บทเรียนต้องได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนมีชีวิตชีวาจากการนำเสนอสาระสนเทศในลักษณะสื่อประสม และการโต้ตอบกับบทเรียน โดยการตอบคำถามในแบบฝึกหัดและตรวจคำตอบได้ด้วยตนเอง
5. การป้อนผลย้อนกลับ ผู้เรียนต้องได้รับผลการเรียนรู้ทันทีทันใด เมื่อกระบวนการเรียนแต่ละตอนสิ้นสุดลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น