วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์กับการศึกษา


        ในปัจจุบันนี้พบว่าได้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ในด้านต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นอย่างมาก ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน ได้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ เช่น ด้านการบริหาร ด้านการวางแผนหลักสูตรด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านห้องสมุด การแนะแนวและบริการ การทดสอบและวัดผลประยุกต์ใช้ในงานวิจัย สื่อการสอน ด้านการจัดการสอน และด้านช่วยสอนเป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะด้านช่วยสอนเท่านั้น
        คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำเข้ามาใช้ช่วยในการเรียนและการสอนอย่างจริงจังในราวปลายศตวรรษที่ 1950 ศาสตราจารย์ ดร. Robert P. Taylor แห่ง Columbia University ณ เมือง New York ได้สรุปบทบาทและหน้าที่การใช้งานคอมพิวเตอร์ไว้ว่าเป็นผู้ติวหรือผู้สอน (Tutor) ผู้สื่อ (Tools) และผู้เรียน (Tutee)
ผู้สอน หรือ Tutor 
        การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในลักษณะเป็นผู้สอนนั้นได้แนวคิดมาจากการสอนแบบโปรแกรมหรือ Programmed Instruction นั่นเอง แต่การใช้คอมพิวเตอร์มีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าการสอนแบบโปรแกรม สามารถใช้ในการโต้ตอบกับผู้เรียน มีการเคลื่อนไหวของกราฟิกซึ่งสามารถทำได้ดีกว่าการสื่อและวิธีการสอนแบบอื่นบทเรียนคอมพิวเตอร์และสร้างโปรแกรมขึ้นมาโดยผู้ชำนาญ
ในการเขียนโปรแกรมและผู้ชำนาญการสอนในสาขาวิชานั้น ๆ คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่และมีบทบาทในการเสนอบทเรียนและเนื้อหา ผู้เรียนจะเรียนจากคอมพิวเตอร์ตามขั้นตอนและเนื้อหาที่ได้ออกแบบไว้ผู้เรียนเป็นผู้ตอบสนอง และคอมพิวเตอร์เป็นผู้ประเมินผลจากการตอบของผู้เรียน ผลของการประเมินจะช่วยเป็นเครื่องตัดสินว่าผู้เรียนจะผ่านไปเรียนเนื้อหาลำดับต่อไปหรือไม่
        ดังนั้นการออกแบบบทเรียน CAI เพื่อใช้เป็นผู้ติวหรือผู้สอนนั้นจะใช้เวลาเป็นอย่างมาก ต้องใช้ความคิดอย่างลึกซึ้ง เพราะมนุษย์มีความยืดหยุ่นมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์บทเรียนจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน
สื่อการสอน หรือ Tools
        การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือและสื่อสำหรับการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียน เช่น ใช้ในคิดคำนวณเลข วิเคราะห์ข้อมูลสถิติและพิมพ์รายงาน หนังสือและเอกสารต่างๆ งานด้านศิลปะและการออกแบบ งานทางกราฟิกและดนตรี เป็นต้น
ผู้เรียน หรือ Turee
        การใช้คอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนผู้ถูกติว หรือผู้เรียนนั้น หมายความไปถึงการที่ผู้เรียน และผู้สอนจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการติว หรือใช้เป็นเครื่องมือและผู้สื่อได้นั้นทั้งผู้เรียนและผู้สอนจะต้องทำการเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะใช้ทำการโปรแกรมและใช้สื่อความหมาย
ภาษาเดียวกันกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ไม่มีความฉลาดเหมือนมนุษย์ ไม่มีความอ่อนไหวใช้ทำงานได้นาน ไม่มีอาการเบื่อ จะให้เริ่มหรือหยุดเมื่อไรก็ได้ ผู้เรียนสามารถสอนคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ต่างๆ นานา เช่นใช้ในการเรียนเลขคณิต ช่วยเรียนและฝึกภาษา ใช้ให้เขียนแผนผังและแผนที่ ให้ฝึกเล่นดนตรี เป็นต้น
        CAI ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อวงการการศึกษาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1960 โดยเฉพาะการสอนคำนวณ แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาและความก้าวหน้าของ CAI เป็นไปอย่างเชื่องช้าในปัจจุบันนี้ไมโครคอมพิวเตอร์หรือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ PC(Personal Computer) คำว่า CAI และ CAL (Computer Assisted Learning) นั้นที่จริงแล้วมีความมุ่งหมายให้งานทางด้าน CAI เริ่มฟื้นชีพขึ้นมาใหม่ ในปัจจุบันโปรแกรมทางด้าน CAI มีคุณภาพและน่าสนใจมากขึ้น คำว่า CAI นั้นนิยมใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา มุ่งหวังที่จะนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ และช่วยในการเรียนและการสอนศาสตร์ต่างๆ โดยให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้จากบทเรียนต่างๆ 

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

เครือข่ายคอมพิวเตอร์





เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและได้และใช้ทรัพยากรที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก เช่น เวบ  อีเมล  FTP

ความเป็นมาของเครือข่าย
        หากย้อนไปเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว คอมพิวเตอร์เครื่องแรกกำเนิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ต่อมาคอมพิวเตอร์ก็มีบทบาทสร้างสรรค์สังคมมนุษย์เข้ามาช่วยเหลืองานต่าง ๆ ของมนุษย์มากมาย จินตนาการการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีมานานแล้ว โดยเฉพาะในนิยายวิทยาศาสตร์ ผู้เขียนนิยายวิทยาศาสตร์หลายท่านได้สร้างจินตนาการให้เห็นระบบสื่อสารที่ทรงพลัง โดยมีคอมพิวเตอร์ช่วยเป็นสื่อในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน
        จุดเริ่มต้นของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1962 Licklider แห่งมหาวิทยาลัย MIT ได้บันทึกแนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อ Galactic Network โดยแสดงจินตนาการให้เห็นหลักการของเครือข่ายทางวิชาการ พร้อมทั้งประโยชน์ที่จะใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการพูดคุย สื่อสาร อภิปราย ส่งข่าวระหว่างกัน และเชื่อมโยงกันทั่วโลก ต่อมาLicklider ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าทีมงานวิจัยตามความต้องการของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกัน ในโครงการที่ชื่อ DARPA ร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอีกหลายคน
ประโยชน์ของระบบเครือข่าย
        1. การใช้ Hardware ร่วมกัน
        2. การใช้ Software ร่วมกัน
        3. การต่อเชื่อมกับระบบอื่น
        4. การใช้ระบบ Multiuser
1. การใช้ Hardware ร่วมกัน ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นว่า ระบบ Network จะช่วยให้เราสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่อง Hardware ลงไปได้ ทั้งนี้เนื่องจากเราสามารถนำ Hardware บางประเภทมาใช้งานร่วมกันได้ ได้แก่
        Share Diskspace เป็นการใช้งานร่วมกันของเนื้อที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ซึ่งรวม Harddiskและ CD ROMS (Compac-Disk Read-Only Memory) ซึ่งเราจะใช้ Harddisk หรือ CD ROMSจาก PC ที่เราเรียกว่า "File Server นี้จะเป็นเครื่องที่ใช้ในการเก็บข้อมูล (Data) ของ User และSoftware ของระบบทั้งหมด รวมทั้งควบคุมการทำงานของระบบ Network ด้วย
สืบเนื่องจากการใช้ Harddisk หรือ CD ROMS จาก File Serveร่วมกันทุกคน จึงทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องมี Harddisk ที่เครื่อง PC แต่ละเคริอง รวมทั้งไม่ต้องมี Floppy Disk Drive ใดๆอีกต่อไป เราจะเรียกเครื่อง PC ประเภทนี้ว่า "Diskless Workstation" หรือ "Dump Terminal
         Share Printer ในที่นี้เราจะขอกล่าวถึง Printer หรือเครื่องพิมพ์ก่อน ซึ่งเครื่องพิมพ์จะเป็นอุ)กรณ์ต่อพ่วง (Peripherals) ที่ใช้งานมากที่สุด โดยเฉพาะในปัจจุบันมี Printer ราคาสูงเกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะ Laser Printer และเครื่องพิมพ์สี (Color Printer) ซึ่งมีราคาแพง และจำเป็นต้องนำมาใช้งานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นอกจากนั้นกรณีที่เรานำเครื่องพิมพ์มาใช้งานในระบบ Network มาก กว่า เครื่อง เช่น Dot Matrix, Laser Printer, Color Printer, Ink Jet ฯลฯ เป็นต้น ในการส่งงานไปพิมพ์นั้น เราสามารถเลือกได้ว่าต้องการใช้งานเครื่องพิมพ์ชนิใดใช้งานได้ด้วย ซึ่งการทำงานง่ายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
         Share Communication Devices หมายถึง การนำอุปกรณ์สื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกัน เช่น "Modem" ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนถ่ายข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันโดยอาศัยสายโทรศัพท์ นอกจาก Modem แล้วอุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้คือ "FAX" โดยเราสามารถพิมพ์ข้อมูลที่ "Workstation" ของเรา และส่งข้อมูลผ่านระบบ Network ไปที่เครื่อง FAX ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์ลงกระดาษ แล้วเดินไปส่ง FAX ที่เครื่อง FAX อีกต่อไป

ซอฟต์แวร์




ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตรอ์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการเรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้างจัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

หน้าที่ของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟแวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟแวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท

ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟแวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
ซอฟแวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)
และซอฟแวร์ใช้งานเฉพาะ

1.ซอฟท์แวร์ระบบ  (System Software)
            ซอฟท์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิดสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟแวร์ระบบคือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผง แป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน้าความจำสำรอง
             ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software)
System Software หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS,Windows.Unix,Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal,Cobol,C เป็นต้น
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน

หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
1) ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่อยส่งออก เช่น รับรู้การกกดแป้นต่างๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น เมาส์ ลำโพงเป็นต้น
2) ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกันคือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3) ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการในสาระบบ (directory) ในแผ่นบันทึกการทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื่นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการและตัวแปลภาษา